อัพเดทใหม่ล่าสุด ทั้ง WD | Seagate | HGST | TOSHIBA ทั้งหมด
จากงานคอมมาร์ท 2015 ที่งานนี้เดินไปทางไหนก็เจอแต่บูธขาย Harddisk มีหลากหลายยี่ห้อจนเลือกไม่ถูก หลายคนถูกชักจูงไปกับโปรโมชั่นของแถมเล็กๆน้อยๆในงาน จนลืมไปว่า Harddisk นั้นมีความสำคัญมากขนาดไหน ข้อมูลบางคนมีค่าความทรงจำ ข้อมูลบางท่านมีค่าหลักแสน แม้ว่าเจ้าหลักๆจะมีแถมบริการกู้ข้อมูลฟรี 1 ปีมาด้วย แต่ Harddisk ร้อยละ 90% ถ้าเราไม่ทำตก ก็จะไม่เสียในปีแรก มักจะไปเสียในช่วงปีที่ 2/3 หรือหลังหมดประกัน และถ้ามันเสีย โอกาสที่แล็บจะไม่สามารถู้ได้ ก็ยังมีถึง 5% จบงานนี้เรามีคำตอบว่า Harddisk ยี่ห้อไหนทน ยี่ห้อไหนดี
เราได้ทำการซื้อ Harddisk ที่วางขายในงานมาหมดทุกยี่ห้อ ได้แก่ WD / Seagate / Toshiba / Buffalo / Transcend และ HGST
จากนั้นเราได้ทำการเปิดฝาครอบ Harddisk ทุกตัว เพื่อตรวจสอบยี่ห้อ Harddisk ที่ใช้ภายใน เพื่อตัดยี่ห้อที่ซ้ำกันออกไป
จะพบว่า Harddisk ยี่ห้อ
- Transcend / Buffalo / Seagate ใช้ HDD ภายในยี่ห้อเดียวกันคือ Samsung (ซึ่งปัจจุบันโดน Seagate ซื้อกิจการไป) ผมขอเรียกรวมว่าเป็นยี่ห้อ Seagate ครับ
- HGST ไม่น้อยหน้า แม้จะตีตราบนฉลากว่ายี่ห้อ HGST แต่ก็ขายกิจการให้ WD ไปแล้วเช่นกัน มีข่าวว่าเร็วๆนี้จะผลิตไลน์เดียวกัน
- WD ใช้ HDD ภายในของยี่ห้อตัวเอง
- Toshiba ใช้ HDD ของ Toshiba เอง
ผลการทดสอบความเร็ว (ใช้โปรแกรม HD TUNE 5.5)
- Seagate ได้ความเร็วขนาดถ่ายโอนไฟล์ 500MB ที่ Read 112270kb/s Write 95130kb/s
- WD ได้ความเร็วขนาดถ่ายโอนไฟล์ 500MB ที่ Read 111020kb/s Write 110066kb/s
- HGST ได้ความเร็วขนาดถ่ายโอนไฟล์ 500MB ที่ Read 101757kb/s Write 100045kb/s
- TOSHIBA ได้ความเร็วขนาดถ่ายโอนไฟล์ 500MB ที่ Read 101135kb/s Write 99162kb/s
การออกแบบฝาครอบและการจัดวางภายใน
- WD ทำด้วยพลาสติกเนื้องบาง ยืดหยุ่น สีสันดูมืดๆ สวยน้อยลงกว่าเดิม ทันทีที่พยายามแงะหรือแกะจะมีรอยทันที ไม่ว่าจะเบามือขนาดไหน ไม่สามารถเคลมประกันได้ ภายในตัว Harddisk ไม่มีน๊อตล็อคระหว่างแผ่นยึดหัวอ่าน ใช้เพียงแม่เหล็กดูดไว้
- Seagate ฝาครอบสวยงาม ดูดี ปิดด้วยแผ่นอะลูมิเนียนฟอยล์กันไฟฟ้าสถิต ภายในตัว Harddisk มีน๊อตล็อคระหว่างแผ่นยึดหัวอ่าน 3 จุด
- HGST ฝาครอบพลาสิตก ไม่ค่อยสวยเท่าไหร่ แต่เนื้อเหนียวทนแต่การแตก ออกจะโบราณไปหน่อย ภายในตัว Harddisk มีน๊อตล็อคระหว่างแผ่นยึดหัวอ่าน 3 จุด และมียางบางๆกั้นไว้บริเวณจุดยึด 2 จุด
- Toshiba ฝาครอบเป็นพลาสติกเนือด้าน มีรอยทันทีที่เปิด ด้านในมีน๊อตยึดสองตัวบริเวณหัวอ่าน
สถิติอาการเสียที่ลูกค้าส่วนใหญ่ส่งมากู้จากการใช้งานปกติ (ไม่ได้ทำตก) จากสถิติปี 2012-2015
- Seagate มีเสียงดัง / จานไม่หมุน โดยเฉลี่ยจะเกิดอาการมากที่สุดในช่วงปีที่ 1 หรือข้ามไปเสียหลังหมดประกัน โอกาสกู้ได้ 80%
- WD ไม่มีเสียงดัง (ทำงานปกติ แต่ไม่ Detect) / มีเสียงดัง โดยเฉลี่ยจะเกิดอาการมากที่สุดในช่วง ปีที่ 1 และ 2 โอกาสกู้ได้ 80%
- Toshiba มีเสียงดัง โดยเฉลี่ยจะเกิดอาการมากที่สุดในช่วง ปีที่ 2 และ 3 โอกาสกู้ได้ 75%
- HGST มีเสียงดัง / จานไม่หมุน โดยเฉลี่ยจะเกิดอาการมากที่สุดในช่วงหลังหมดประกัน โอกกาสกู้ได้ 70%
ศูนย์กู้ข้อมูล ATL Recovery ขอให้คะแนนดังนี้!
Seagae อันดับ 1 ขึ้นจาก 2 เพราะการออกแบบภายนอกดูสวยงาม สีสันหลากหลาย (สีทองนี่แจ่มสุด) ใช้วัสดุมี่มีคุณภาพ ในส่วนของหัวอ่านแน่นหนาไม่สามารถขยับได้ แม้ว่าจะมีน๊อตยึดเพียง 2 ตัว มี Software อย่าง Paragon ntfs มาให้ ทำให้สามารถใช้งานบนแมคได้ควบคู่กัน สามารถส่งเคลมได้ที่ Seagte ฟอร์จูน ชั้น 4 วันเดียวได้เลย ข้อเสียคือ มักจะมีปัญหาหัวอ่านเสียภายในติดขัด ต้องเข้าแล็บ แม้ว่าจะกระแทกเพียงเบาๆ ก็ไปซะแล้ว WD อันดับ 2 คงเดิม จากปีที่แล้ว การออกแบบคล้ายเดิม แต่ความสดใสของสีสันสวยน้อยลง เปอร์ช็นต์เสียน้อยลงกว่ารุ่นก่อน แต่โอกาสกู้ได้ค่อนข้างสูง พกพาง่าย ตัว Firmware ควบคุมการทำงานและ Software ที่แถมมาทำได้ดีที่สุด สามารถเคลมได้ที่พันธ์ทิพย์ รวดเร็วรอวันเดียวได้เลย แถมกู้ข้อมูลฟรี 1 ปี (ต้องออกค่าส่งไปยังสิงคโปร์เอง ประมาณ 1,000 บาท และต้องลงทะเบียนภายใน 30 วันนับจากวันซื้อ ซึ่งคนส่วนใหญ่ไม่รู้ และร้านที่ขายมักจะไม่บอก) ข้อเสียคือรุ่นนี้มีปัญหาอ่อนโยนบอบบางกับไฟตก ไฟกระชาก หรือการเสียบทิ้งไว้นานๆ แบบค้างคืน HGST ตกจากอันดับ 1 มาอยู่ที่ 3 เพราะการออกแบบภายในแน่นหนา บริเวณหัวอ่านและแผ่นยึดหัวอ่าน ลองเอานิ้วดันแล้วไม่สามารถขยับได้ มีน๊อตยึด 3 จุดและยางบางๆอีก 2 แห่ง แม้ว่าจะไม่มีแบบ External ส่งมากู้ข้อมูลกับเราเยอะเท่าไหร่ แต่จากการเก็บข้อมูลเป็น Model เดียวกับแบบ Internal ที่ใส่มาในเครื่องแบรนด์ต่างๆ ซึ่งข้อเสียคือตัว internal ที่ถูกยัดใส่มากับเครื่อง Dell Lenovo เสียง่ายเกินไป และแทบจะกู้ข้อมูลอะไรไม่ได้ เนื่องจากตัวโมเดลถูกออกแบบมาให้ไม่สามารถถอดหัวอ่านเปลี่ยนได้ การกู้ในแล็บต้องถอดจานเท่านั้น (ยากเข้าไปอีก) ส่วนตัว External ไม่มี Software สำหรับใช้ลงบน MAC มาให้ เพื่อให้ใช้งานได้ทั้งวินโดวส์และแมคคู่กันต้องฟอร์แมตใหม่เป็นของแมคเอง ExFat และต้องส่งเคลมกับ IT City ซึ่งใช้เวลานานน่าจะ 30 วัน หรือต้องไปที่ SVOA ราชบูรณะ เท่านั้น TOSHIBA อันดับ 4 คงเดิม การออกแบบเรียบง่าย เป็นโมเดลตัวหนาไม่ใช่รุ่นสลิม ซอฟแวร์ภายในให้มาครบถ้วน รองรับการใช้งานบนแมคและพีซี การเคลมทำได้รวดเร็วรอรับได้เลยที่สยามพารากอน ข้อเสียคือแผงเมนบอร์ดและขั้วต่อ usb เป็นแผ่นเดียวกัน และขั้วต่อมักจะมีปัญหาหลวมหรือหลุด ไม่สามารถแก้ไขได้ ต้องส่งแล็บ
ทั้งหมดนี้เป็นความเห็นส่วนตัวจากการประสบการณ์ที่ผ่านมา เราหวังว่าจะช่วยให้ทุกคนตัดสินใจเลือกอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลได้ง่ายขึ้น และช่วยให้ข้อมูลสำคัญนั้นอยู่กับเราไปนานๆ และผลการจัดอันดับนี้ ขอให้คุณเข้าใจว่าเป็นเพียงส่วนหนึ่งของอาการเสียเท่านั้น เพราะยังมีสาเหตุอีกมากที่ทำให้อุปกรณ์เก็บข้อมูลของคุณเสีย ไม่ว่าจะเป็น พอร์ต usb ที่เริ่มเสื่อมสภาพ การจ่ายไฟมีปัญหา ไฟตก ไฟกระชาก หรือ แม้แต่การทำตกของผู้ใช้งานเอง หากทานมีปัญหาด้านการกู้ข้อมูล ติดต่อเราได้ทันที ศูนย์กู้ข้อมูล ATL Recovery เราคือ ผู้เชี่ยวชาญตัวจริง ที่เดียวในไทยที่ไม่คิดค่าบริการ ตรวจเช็คใดๆ อย่างแท้จริง กู้ไม่ได้ไม่คิดเงิน โทร 081 318 4466
ทางเลือกใหม่ ซื้อ Package ประกันการกู้ข้อมูล 1 2 หรือ 3 ปี จาก ATL Recovery สุดคุ้ม จัดเลย!
บทความโดย ATLRECOVERY.NET