Hard Disk ยี่ห้อไหนทน ยี่ห้อไหนดี ปี 2021
(อัพเดท 29/2/21) อัพเดทใหม่ล่าสุด WD, Seagate, HGST, TOSHIBA
เนื่องจากมีคำถามเข้ามามากมาย ถ้าต้องการซื้ออุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลปี 2021 หรือ 2564 นี้ ควรซื้อฮาร์ดไดรฟ์รุ่นไหน ยี่ห้อไหนดี รวมถึง Flash Sale ของ Shopee Lazada อุปกรณ์ที่ขายดีน่าจะเป็นอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล ไม่ว่าจะเป็น Hard Drive, Solid State, My Cloud หรือ External Hard Drive แบบพกพาซึ่งมีราคาถูกลง รวมถึงผู้ใช้งานมีความต้องการเก็บข้อมูล และ การโอนถ่ายข้อมูลที่เร็วขึ้น เนื่องจากไฟล์ภาพถ่าย ไฟล์วิดีโอที่มีความละเอียดสูงขึ้น รวมถึงหลายคนเริ่มมีกล้องความละเอียด 4K นั้นเอง นอกจากนั้น Google Photo ก็จะสิ้นสุดพื้นที่การเก็บข้อมูลฟรีแล้วในเดือนมิถุนายนนี้
สำหรับ Hard Disk ยี่ห้อหลักๆ มีเพียง WD Seagate และ Toshiba เท่านั้น โดย WD, Seagate ทั้งสองยี่ห้อนี้มีการแถมฟรี กู้ข้อมูล 1 ปี นับจากวันที่ในใบเสร็จ ต้องแจ้งว่าอุปกรณ์ประเภท Hard Disk ร้อยละ 90% ถ้าเราไม่ทำตก ก็จะไม่เสียในปีแรก มักจะไปเสียในช่วงปีที่ 2/3 หรือหลังหมดประกัน และถ้ามันเสีย โอกาสที่แล็บจะไม่สามารถกู้ข้อมูลได้ ก็ยังมีถึง 5%
งานนี้เรามีคู่มือการเลือกซื้อฮาร์ดดิสก์มาฝากกันครับ “ว่า Harddisk ยี่ห้อไหนทน ยี่ห้อไหนดี”
สำหรับ Hard Drive ขนาด 3.5″
ผมขอหยิบเอาข้อมูลที่น่าเชื่อจาก Backblaze ที่หยิบยกมาอ้างอิงกันตลอด (ตลอดปี 2020) ผู้ให้บริการ Cloud Drive ลำดับต้นๆของโลก ที่มีการใช้งานฮาร์ดดิสก์แบบเดียวกับที่ผู้ใช้ทั่วไป ทำงานอยู่ในบริษัทมาประกอบการอธิบายดังนี้ครับ โดย Backblaze เปิดเผยว่าจากสถิติคุณภาพ HDD Hitachi และ WD ขนาด 3.5″ ทำผลงานได้สูสีกัน โดยเมื่อเทียบการใช้ผ่านไป 3 ปี จะได้ผลดังนี้
- HGST มีอัตราเสียน้อนที่สุด แต่ราคาสูง สำหรับในไทยศูนย์บริการหายาก อาจไม่คุ้มค่านัก
- WD เสียในอัตราที่รองลงมา จะมีอัตราเสียมากขึ้นเมื่อเป็นฮาร์ดไดรฟ์ที่มีความจุมากกว่า 4TB ขึ้นไป
- Toshiba เสียในอัตราลำดับที่ 3 จะมีอัตราเสียมากขึ้นเมื่อเป็นฮาร์ดไดรฟ์ที่มีความจุมากกว่า 4TB ขึ้นไป
- Seagate มีอัตราเสียเยอะสุดในความจุที่น้อยกว่าหรือเท่ากับ 2TB และจะมีอัตราเสียมากขึ้นเมื่อเป็นฮาร์ดไดรฟ์ที่มีความจุมากกว่า 4TB ขึ้นไป
แต่ข้อมูลจากตาราง เราไม่สามารถสรุปได้ว่า ยี่ห้อไหนดี ยี่ห้อไหนทน เพราะปัจจุบันทางบริษัทเลือกใช้ฮาร์ดดิสก์ที่มีความจุขึ้นต่ำ 4TB ขึ้นไปแล้ว ซึ่งการใช้งานสำหรับบุคคลทั่วไปนั้น อาจมีไม่มากเท่าไหร่นักที่จะเลือกใช้ฮาร์ดไดรฟ์ที่มีความจุมากกว่า 4TB นั้นมีอัตราเสียไม่แตกต่างกันเท่าไหร่ แต่พอจะตีความได้ว่า Harddisk ที่มีความจุสูงมากระดับ 3TB – 4TB ขึ้นไปมีอัตราเสียสูงมากทีเดียว ซึ่งเราแนะนำให้ลูกค้าวางแผน Backup ให้ดี หรือเลือกใช้งานกับอุปกรณ์พวก NAS ที่มีระบบ RAID เท่านั้น หากต้องการใช้กับฮาร์ดดิสก์ที่มีความจุสูงมากๆ ในปัจจุบันมีจำหน่ายถึง 10TB
ที่มา https://www.backblaze.com/blog/backblaze-hard-drive-stats-for-2020/
ผลการสำรวจนี้สอดคล้องกับข้อมูล Harddisk ที่ลูกค้านำมาส่งกู้ข้อมูลกับทาง ATL Recovery ดังนี้
Harddisk Seagate, WD และ Toshiba (ไม่พูดถึง HGST เพราะไม่ค่อยมีคนใช้งาน) ที่มีความจุสูงกว่า 2TB มักเสียก่อนที่จะหมดระยะประกัน เฉลี่ยอยู่ที่ปีที่สองหรือปีที่สามเท่านั้น จากการใช้งานปกติ ไม่นับรวมเคสที่ทำตกหรือเสียหายจากภาคจ่ายไฟ โดยเฉพาะ Seagate เมื่อเสียแล้ว โอกาสกู้ข้อมูลได้จะมีอัตราสำเร็จอยู่ที่ 50:50 (ได้หมด หรือ ไม่ได้เลย)
ทั้งนี้ จากข้อมูลเบื้องต้นนี้เราจะคงไม่สามารถสรุปได้นะครับว่ายี่ห้อไหนทนกว่า เพราะเรายังมีข้อมูลไม่มากพอที่จะสรุปได้ เนื่องจากลูกค้าส่วนใหญ่ที่มีปัญหา มักจะใช้ความจุขนาด 1TB หรือ 2TB สูงสุด 4TB เท่านั้น ข้อมูลด้านบนเราหยิบมาให้ลูกค้าตัดสินใจและเตรียมการ Backup สำหรับเคสฉุกเฉินไว้ครับ แต่เราพอจะบอกข้อควรระวังไว้คร่าวๆดังนี้ครับ
– Seagate, Toshiba มักจะเสียหายจากไฟกระชาก ควรมีเครื่องสำรองไฟ UPS ใช้งานด้วยจะเพิ่มความปลอดภัยมากขึ้น ถ้าเสียหายระดับหัวอ่าน ที่ต้องเข้า Lab การกู้ข้อมูลของ Seagate มักจะยากกว่าและมักจะเสียหายหนักกว่าของ WD
– WD มักจะเสียจากไฟกระชากเช่นกัน แต่ก่อนจะเสียมักจะมีอาการแปลก เช่น ทำงานช้าในบางช่วง หรือ Save ไฟล์ไม่ค่อยได้หรือ Save แล้ว Error บ่อยๆ ควรรีบสำรองข้อมูลระหว่างนี้ แล้วเปลี่ยนฮาร์ดดิสก์หรือส่งเคลมทันที
– Seagate มักไม่ค่อยมีสัญญาณล่วงหน้า ถ้าเราใช้งานแบบมีเครื่องสำรองไฟ ซึ่งถ้าเสียอาการเสียส่วนใหญ่มักเกิดจากแผงเมนบอร์ด ซึ่งแก้ไขได้ง่ายกว่าของ WD
– ทุกยี่ห้อ หากทำตกหรือกระแทก แม้จะยังใช้งานได้ ให้รีบสำรองข้อมูลออกมาแล้วส่งเคลมทันที เพราะมีโอกาสเสียได้ภายในเวลาไม่นาน หากยังคงใช้งานดิสก์ตัวนั้นต่อ
สำหรับ Hard Drive ขนาด 2.5″ (External Hard Drive แบบพกพา)
หากใครยังไม่เคยอ่านบทความของปีที่แล้วที่เจาะลึกทุกยี่ห้อ ลองไปอ่านก่อนครับ
Seagate และ WD ที่เป็นโมเดล Slim มีอัตราการเสียหายง่ายกว่าเดิม (โปรดสำรองข้อมูลอยู่เสมอ หรือ เลือกใช้งานเป็น SSD )
ด้านความเร็ว
WD My Passport, Seagate Backup Slim และ Toshiba Canvio ทำความเร็วได้เท่ากับ น้ำหนักเบาลง มาด้วยการเชื่อมต่อ USB 3 Type-C ตัวดิสก์ด้านในบางลงมาก เนื่องจากมีการลดแผ่นจานแม่เหล็กลงเหลือ 1 แผ่น จากเดิม 2 แผ่น สำหรับความจุ 1TB และ 2 TB
ด้านการรับประกันสินค้า
Seagate เคลมประกันได้ที่ Synnex และศูนย์บริการ Seagate ฟอร์จูน ชั้น 4 โดยตรง การเคลมทำได้ดี รวดเร็ว หากมีของจะได้เปลี่ยนในทันที หากไม่มีของอาจต้องรอ 7-10 วัน ซึ่งเป็นระยะเวลาที่เหมาะสม ไม่นานเกินไป สำหรับโตชิบา เคลมได้ที่สยามพารากอน
ด้านราคา
ราคาไม่แตกต่างกันมาก ขึ้นกับความพอใจในรูปทรงขอแต่ละคน
สถิติอาการเสียที่ลูกค้าส่วนใหญ่ส่งมากู้จากการใช้งานปกติ (ไม่ได้ทำตก) จากสถิติตลอดปี 2020
- Seagate อาการเสียที่พบบ่อยคือ มีเสียงดัง หรือจานไม่หมุน มีเสียงหัวอ่าน ติ๊ดๆ เบาๆ โดยเฉลี่ยมักจะเสียจากการกระแทก แม้ไม่แรง โอกาสกู้ข้อมูลได้ สำหรับโมเดลใหม่ 50% เนื่องจากจานแม่เหล็กจานดิสก์ด้านในอยู่ชิดกันมาก โอกาสที่จะเสียหายจากการโดนหัวอ่านหรือขูดกันสูง
- WD อาการเสียที่พบบ่อยคือ ไม่มีเสียงดัง (ทำงานปกติ แต่ไม่ Detect) ไฟติดแต่ไม่กระพริบ สาเหตุหลักๆมาจากภาคจ่ายไฟจาก usb หรือ พอร์ต usb เริ่มมีปัญหา ทำให้หัวอ่านเสีย โอกาสกู้ได้ 80% โดยเฉลี่ยจะเกิดอาการมากที่สุดในช่วง ปีที่ 2 และ 3
- Toshiba อาการเสียที่พบบ่อยคือ มีเสียงดัง หรือ อ่านข้อมูลช้า ค้าง โดยเฉลี่ยจะเกิดอาการมากที่สุดในช่วง ปีที่ 2 และ 3 โอกาสกู้ได้ 70%
- สามยี่ห้อข้างต้น หากทำตก กระแทก WD มีโอกาสเสียง่ายที่สุดแต่โอกาสกู้ข้อมูลกลับคืนได้ง่ายที่สุดเช่นกัน ส่วน Seagate มีโอกาสเสียรองลงมาแต่เมื่อเสียแล้วกู้ข้อมูลยาก โอกาสน้อย และ Toshiba เรามีข้อมูลไม่เพียงพอที่จะสรุปผล
ศูนย์กู้ข้อมูล ATL Recovery ขอให้คะแนนดังนี้!
WD My Passport อันดับ 1 มีโอกาสกู้ข้อมูลได้ค่อนข้างสูง พกพาง่าย ตัว Firmware ควบคุมการทำงานและ Software ที่แถมมาทำได้ดี สามารถเคลมได้ที่พันธุ์ทิพย์ รวดเร็วรอวันเดียวได้เลย ข้อเสียคือรุ่นนี้มีปัญหาอ่อนโยนบอบบางกับไฟตก ไฟกระชาก หรือการเสียบทิ้งไว้นานๆ แบบค้างคืน
ทางไปซื้อ WD ของแท้ราคาถูกใน Lazada ให้ซื้อใน Lazmall ร้าน WD Official เท่านั้น
SEAGATE Backup Slim อันดับ 2 ออกแบบเรียบง่าย วัสดุที่ใช้สวยงามดูดี ซอฟแวร์ภายในให้มาครบถ้วน รองรับการใช้งานบนแมคและพีซี การเคลมทำได้รวดเร็วรอรับได้เลยที่ฟอร์จูนทาวเวอร์ ข้อเสียคือแผงเมนบอร์ดและขั้วต่อ usb มักจะมีปัญหาหลวมหรือหลุดง่าย และหัวอ่านมักจะติดเมื่อมีการกระแทกหรือขยับที่ไม่รุนแรงนัก หรือ บางครั้งก็เสียเองแบบไม่มีสาเหตุ
ทางไปซื้อ SEAGATE ของแท้ราคาถูกใน Lazada ให้ซื้อใน Lazmall ร้าน Banana IT Official เท่านั้น
TOSHIBA Canvio และ HGST เรามีข้อมูลไม่เพียงพอสำหรับยี่ห้อนี้ แต่เนื่องจากศูนย์บริการและร้านค้าหาซื้อยาก เราจึงขอจัดไว้ให้เป็นลำดับที่ 3
การจัดลำดับคะแนน เนื่องจากเราให้บริการด้านการกู้ข้อมูล เราจึงให้คะแนนมุ่งเน้นที่ความสำคัญของข้อมูลเป็นหลัก โอกาสที่ข้อมูลจะเสียหายสูงมาก แม้จะทำตกไม่สูงหรือกระแทกไม่แรง อีกทั้งเทคโนโลยีการจัดเก็บข้อมูลที่สูง บีบอัดลงในจานแม่เหล็ก เหลือเพียง 1 แผ่นเท่านั้น ทั้งที่มีความจุสูถึง 2TB ทำให้โอกาสที่ทำตกแล้วข้อมูลจะเสียหายถาวรสูงมาก
Hard Disk ยี่ห้ออื่นๆ เช่น Transcend, Buffalo, Lacie ภายในใช้ฮาร์ดดิสก์ของ Samsung ทั้งหมด (ซึ่งปัจจุบัน Samsung ได้ขายกิจการผลิตฮาร์ดดิสก์ให้ Seagate ไปแล้ว
มุมของการใช้งาน ไม่ได้มองในมุมของศูนย์กู้ข้อมูล จริงๆ ผมอยากให้ WD น่าใช้กว่า Seagate เล็กน้อย เพราะ Seagate ได้เรื่องความสวยงาม ความบาง ส่วน WD เองได้เรื่องคุณภาพที่พัฒนาสม่ำเสมอ อีกทั้งศูนย์บริการของทั้งสองให้บริการและคำปรึกษาได้ดีทั้งคู่ เพราะเราควรตระหนักเสมอว่าข้อมูลสำคัญควรหมั่นสำรองเป็นสองชุดเสมอ การเก็บข้อมูลสำคัญมากไว้เพียงชุดเดียวเป็นความเสี่ยงมากๆ
ทั้งหมดนี้เป็นความเห็นส่วนตัวจากการประสบการณ์ที่ผ่านมา เราหวังว่าจะช่วยให้ทุกคนตัดสินใจเลือกอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลได้ง่ายขึ้น และช่วยให้ข้อมูลสำคัญนั้นอยู่กับเราไปนานๆ และผลการจัดอันดับนี้ ขอให้คุณเข้าใจว่าเป็นเพียงส่วนหนึ่งของอาการเสียเท่านั้น เพราะยังมีสาเหตุอีกมากที่ทำให้อุปกรณ์เก็บข้อมูลของคุณเสีย ไม่ว่าจะเป็น พอร์ต USB ที่เริ่มเสื่อมสภาพ การจ่ายไฟมีปัญหา ไฟตก ไฟกระชาก หรือ แม้แต่การทำตกของผู้ใช้งานเอง
หากทานมีปัญหาด้านการกู้ข้อมูล ติดต่อเรา ศูนย์กู้ข้อมูล ATL Recovery เราคือ ผู้เชี่ยวชาญตัวจริง ที่เดียวในไทยที่ไม่คิดค่าบริการ ตรวจเช็คใดๆ “กู้ไม่ได้ไม่คิดเงิน” โทร 081 318 4466
ทางเลือกใหม่ ซื้อ Package ประกันการกู้ข้อมูล 1 2 หรือ 3 ปี จาก ATL Recovery สุดคุ้ม จัดเลย!
บทความโดย ATLRECOVERY.NET