วิธีทำให้ Harddisk มองเห็นและใช้งานได้ทั้ง Mac และ Windows
หลายคนคงมีคำถามแบบที่ผมสงสัยว่า HDD ที่ซื้อมา หากต้องการใข้งานทั้งบนวินโดว์และแมค จะต้องฟอร์แมตอย่างไร บางครั้งฟอร์แมตบนวินโดว์ ก็ใช้งานได้ดี แต่พอมาบน Mac นี่ กลับอ่านได้อย่างเดียว ไม่สามารถเขียนข้อมูลใดๆลงไปได้ จะสามารถ “อ่าน” ไฟล์บน HDD ได้ทั้ง NTFS และ FAT ครับ แต่จะเขียนไฟล์ลงไปได้แค่ FAT เท่านั้น ใน Disk Utility จะมีให้เลือก Format ได้แค่ในภาพ
เราเอาเฉพาะที่ใช้งานกันเป็นประจำมาแนะนำแล้วกันนะครับ 3 ระบบหลักๆ ที่เราใช้กันอยู่บ่อยๆ คือ
-
Mac OS Extended (Journaled)
-
MS-DOS (FAT)
-
NTFS
แบบแรก Mac OS Extended (Journaled) เป็นระบบไฟล์แบบ HFS+ ซึ่งจะใช้งานบน Mac OS ปกติทั่วไปได้ดีที่สุด หากคุณใช้งาน External HDD ของคุณ ต่อกับเครื่อง Mac เป็นประจำ ไม่จำเป็นต้องเลือกแบบอื่นเลยครับ เลือกเป็น Mac OS Extended (Journaled) แล้ว Format เลย คุณจะใช้งานมันได้ราบรื่น แต่เครื่อง PC Windows จะสามารถอ่านได้อย่างเดียวนะครับ แก้ไขไฟล์ไม่ได้
แบบที่ 2 MS-DOS (FAT) หรือที่นิยมเรียกกันว่า FAT (จะ 16, 32 ก็ไม่รู้ล่ะ) จะเป็น Format ที่คุณสามารถเอา External HDD ของคุณตัวนี้ไปใช้งานร่วมกับเครื่อง PC Windows ได้เลย โดยสามารถทำได้ทั้ง “อ่าน” และ “เขียน” ได้ทั้งบน Mac และ Windows ครับ แบบที่ 3 NTFS เป็นระบบของ Windows ที่พัฒนามาต่อจาก FAT ในสมัย Windows NT จะสามารถจัดการกับไฟล์ต่างๆ ได้ดีกว่า FAT และเหมาะกับการใช้งานบน Windows เป็นอย่างยิ่ง แล้วจะเลือกอะไรดีล่ะ ถ้าคุณใช้แต่ Mac ไม่ได้ใช้เครื่อง Windows เลย คุณเลือก Format เป็น Mac OS Extended (Journaled) ก่อนจะใช้งานเลยครับ แล้วมันจะไม่มีปัญหาจุกจิกกวนใจคุณอีกเลย นอกจาก External HDD จะเสีย กรณีที่ต้องใช้งานร่วมกับ Windows เครื่องอื่นบ้างเล็กน้อย ผมก็ยังแนะนำให้ใช้ Format นี้ แต่ส่งไฟล์ไปด้วยระบบ LAN หรือ USB Drive แทนครับ เพราะคุณจะมีความเสถียรในการทำงานสูงกว่า แต่ถ้าคุณใช้ Windows เป็นหลัก ผมแนะนำว่าให้คุณ Format เป็น NTFS ครับ เพราะ FAT จะมีปัญหาว่า ไม่สามารถ Copy ไฟล์ที่มีขนาดใหญ่เกิน 4GB ได้
แต่ใน Disk Utility ก็ยังมี exFAT ให้เลือก ซึ่งจะทำให้คุณสามารถ Copy ไฟล์ที่มีขนาดใหญ่เกิน 4GB ได้ และใช้งานร่วมกับ Mac ได้ด้วย แต่ต้องใช้ Windows XP Service Pack 3 ขึ้นไป จึงจะรู้จัก exFAT นะครับ อีกทั้งความเข้ากันได้ หรือการใช้งานหนัก คุณอาจจะพบปัญหาน้อยกว่า แต่ปกติแล้ว ในการใช้งานของผม (และเชื่อว่าหลายท่านน่าจะใช้วิธีเดียวกัน) คือเลือกจาก OS ที่ใช้งานเป็นประจำ แล้ว Format มันตามนั้น เช่น หากคุณใช้ Mac เป็นหลัก ก็ Format เป็น Mac OS Extended (Journaled) ครับ แน่นอนครับ คนที่เจอปัญหา Cross Platform แบบนี้มีทั่วโลก เค้าก็จะมี Software ต่างๆ ออกมาช่วยแก้ปัญหา ทั้งแบบฟรี และเสียเงิน มีทั้งฝั่ง Mac และ Windows ครับ เช่น Paragon NTFS บน Mac ที่ช่วยให้เขียนลงบน Drive NTFS ได้ หรือ MacDrive บน Windows ที่ช่วยให้อ่านเขียน Drive ที่เป็น Mac ได้ ดังนั้น หากคุณวางแผนในการใช้ External HDD ของคุณตั้งแต่ต้น คุณก็จะไม่พบกับปัญหาเหล่านี้เลยครับ
Edit เพิ่มเติม เราแนะนำให้ทำการฟอร์แมตเป็น NTFS แล้วลงโปรแกรม ประเภท Paragon NTFS บนแมคที่จะใช้งานแทน ถึงแม้อาจจะต้องเสียเงินซื้อโปรแกรมเพิ่มเติม แต่พาร์ติชั่นดังกล่าวให้การอ่าน-เขียนได้ดีที่สุดครับ